ลส.ชบ.

                                                 ประวัติลูกเสือชาวบ้าน

                         การดำเนินงานของพรรคคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย   ได้เริ่มขึ้นในกลุ่มคนจีน  
 ระหว่าง พ.ศ.2468-2470  โดยสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จากประเทศจีน  
ได้ถูกส่งตัวเข้ามาขยายงานในกลุ่มคนจีนในประเทศไทย  และการดำเนินงาน
ได้แผ่ขยายอิทธิพลเรื่อยมาจนสามารถจัดตั้ง พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย   
 ได้สำเร็จในวันที่ 1 ธันวาคม 2485   การดำเนินงานของพรรคคอมมิวนิสต์มีเข็มมุ่ง
ไปในภาคอีสานมากที่สุด  ทั้งนี้เพราะสามารถติดต่อขอรับการสนับสนุนได้จากประเทศใกล้เคียง
  และพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยได้ปะทะกับกองกำลังเจ้าหน้าที่เป็นครั้งแรก 
 เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม  2508  ที่บ้านนาบัว  ต.เรณูนคร  อ.ธาตุพนม  จ.นครพนม 
(ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ อ.เรณูนคร) เรียกว่า  วันเสียงปืนแตก  ผลักดัน
ห้พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยจำต้องมีมติให้ดำเนินการต่อสู้ด้วยอาวุธ   
 โดยประกาศจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธอย่างเป็นหลักฐานขึ้นโดยใช้ชื่อว่า
พลพรรคประชาชนต่อต้านอเมริกาแห่งประเทศไทย  หรือ
  พล  ป.ต.อ.  ขึ้นที่ภูกะเสด  ต.โพนทอง  อ.อำนาจเจริญ   จ.อุบลราชธานี  
 (ปัจจุบันอยู่ในพื้นที่ อ.เสนางคนิคม จ.อำนาจเจริญ) เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2508 
 และได้ประกาศจัดตั้ง กองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย หรือ ท.ป.ท. 
อย่างเป็นหลักฐาน

                          ตั้งแต่ พ.ศ.2508  เป็นต้นมา  สถานการณ์ตามแนวชายแดนภาคอีสาน
ของประเทศไทย  ถูกภัยคตุกคามจากการปฏิบัติการของผู้ก่อการร้าย
คอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง โดยการแทรกซึม  โฆษณาชวนเชื่อ  ชักชวนเด็กหนุ่มชาวเขา
ให้นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์  และให้เดินทางไปฝึกอบรมลัทธิการเมือง การทหารในทาง
ตอนเหนือของประเทศลาว  บางคนไปอบรมต่อถึงประเทศเวียดนามเหนือ
 และประเทศจีนตอนใต้  เมื่อเด็กเหล่านี้กลับสู่ถิ่นฐานเดิมของตนในเวลาต่อมา
(ระยะเวลาการอบรมประมาณ 8 เดือน ถึง  1  ปี) ก็กลับมาพร้อมกับคนแปลกหน้า
และทำการโฆษณาชวนเชื่อ   ชักชวนคนในหมู่บ้านต่าง ๆ ให้นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์มากขึ้น

                           ต่อมา  กลุ่มชาวเขาที่เข้าร่วมขบวนการผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์  
 ก็ถูกชักจูงให้ต่อต้านขัดขวางการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และทหาร 
 ที่เข้าไปช่วยเหลือพัฒนาชาวเขา  และต่อต้านขัดขวางชาวเขาที่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
บาลอยู่เสมอ   นอกจากนั้น   ชาวเขาที่ลุ่มหลงนิยมลัทธิคอมมิวนิสต์   ยังใช้วิธีการลอบดักทำร้าย
 ลอบฆ่าผู้ที่ให้ข่าว และผู้ที่ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่  พฤติการณ์ต่อต้านนี้รุนแรงเพิ่มขึ้นตามลำดับ

          จนกระทั่งปี พ.ศ.2511  การปฏิบัติงานของผู้ก่อการร้ายถึงขั้นการ
ก่อวินาศกรรม   การใช้อาวุธลอบโจมตีเจ้าหน้าที่  พลเรือน  ตำรวจ ทหาร  
อย่างเปิดเผย และในวันที่  4  ธันวาคม  2511  กองกำลังผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
ได้เข้ายึดหมู่บ้านหลายหมู่บ้าน  ในเขต อ.ด่านซ้าย  จ.เลย   ต่อสู้กับเจ้าหน้าที่โดยใช้อาวุธ  
ดังนั้นกองกำลังของกองกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 4  และกองกำลังสนับสนุน
จากกองทัพภาค 2 และ 3  จึงร่วมกันใช้กำลังเข้าปราบปราม  
 แต่กลับทำให้กำลังของผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์แตกกระจายกันออกไป 
 และยึดพื้นที่หลบซ่อน  เพื่อเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์  และทำการต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ ต่อไป
                             
   ด้วยเหตุนี้   ลัทธิคอมมิวนิสต์จึงได้เริ่มแพร่กระจายไปสู่หมู่บ้านใกล้เคียง
 และบางหมู่บ้านในพื้นที่ราบในเขตอำเภออื่น ๆ  ของจังหวัดเลย 
 อีกทั้งยังมีการเคลื่อนไหวกระจายแนวความคิดออกไปอย่างกว้างขวาง

           จากประสบการณ์นี้   ทำให้  พ.ต.อ.สมควร  หริกุล   ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดนเขต 4 
 ผู้รับผิดชอบพื้นที่ที่มีปัญหาข้างต้น   ระหนักถึงภัยคุกคาม และการขยายไปสู่กลุ่มชาวบ้านอื่น
ที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียง  เนื่องจากบริเวณที่เป็นปัญหามีสภาพทุรกันดาร  อยู่ติดชายแดน
ใกล้กับฐานปฏิบัติการของประเทศลาว  ทำให้เจ้าหน้าที่อยู่ในลักษณะเสียเปรียบทางยุทธศาสตร์
ล่อแหลมต่อการคุกคามของผู้การร้ายคอมมิวนิสต์ในอนาคต   ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ
 เขต 4  และเขต 6  มีขีดจำกัดในการส่งกำลังบำรุง  แต่มีความเร่งด่วนที่จะต้องป้องกันพื้นที่
ส่วนนี้ไว้ให้ได้   ดังนั้นจึงใช้วิธีสร้างประชาชนให้เกิดความรู้สึกผิดชอบต่อบ้านเมืองของตน
ร่วมกันกับตำรวจตระเวนชายแดน ด้วยมีเหตุผลหลัก  4  ประการ  คือ

 1พัฒนารักษาพื้นที่ส่วนนี้ไว้มิให้ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ขยายอิทธิพลได้อย่างเสรี
 2.สร้างพื้นที่หมู่บ้านให้ประชาชนรู้จักการต่อต้านผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่
รุกรานจากนอกประเทศ 
 3.รักษาเส้นทางไว้มิให้ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์มีอิทธิพลเหนือรัฐบาล
  4.ป้องกันรักษาพื้นที่หมู่บ้านชายแดนไว้ก่อนที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์จะเผยแพร่ลัทธิลงสู่พื้นราบได้

   ด้วยเหตุผล และประสบการณ์ที่ผ่านมา  กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต 4
 และเขต 6  จึงได้ร่วมกันพิจารณาแก้ปัญหา  โดยตกลงคัดเลือกชาวบ้านตามแนวชายแดนในพื้นที่  
 ตำบลแสงพา  ต.นาที   และบ้านบ่อภาค   ให้เข้ามารับการฝึกอบรมเป็น 
อาสาสมัครชาวบ้านชายแดน ทั้งนี้เพื่อให้ชาวบ้านชายแดนเกิดความหวงแหน
ในชาติบ้านเมือง เสียสละเพื่อประโยชน์สุข และความอยู่รอดของชาติ 
 ทั้งนี้ได้คัดเลือกชาวบ้านจากบ้านเหล่ากอหก   บ้านบ่อภาค  บ้านแสงพา 
 พื้นที่ละ 30  คน  รวม  90  คน มารับการฝึกอบรมที่กองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 2  
 อ.ด่านซ้าย  จ.เลย  โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน  
 ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณค่าใช้จ่ายตลอดการฝึกอบรมประมาณ  2  เดือน

     การฝึกอบรมมีลักษณะคล้ายคลึงกับการฝึกอาสาสมัครทั่ว ๆ ไป   แต่ปรากฏว่า
ในระหว่างการฝึกอบรม  ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียกร้องสิทธิต่าง ๆ 
 หลายประการจนต้องหยุดการฝึกอบรม  แล้วทำความเข้าใจกันถึงเหตุผลที่แท้จริง
ของการเป็นอาสาสมัครชาวบ้านชายแดน  จากนั้นจึงสามารถดำเนินการฝึกอบรมต่อไปได้  
 โดยผู้ให้การฝึกอบรมต้องปรับปรุงแนวทางการฝึกอบรมใหม่ในทันที  
โดยเริ่มปฏิบัติการจัดให้มีการอยู่ร่วมกัน  ทำกิจกรรมต่าง ๆ  ร่วมกัน 
 และเน้นหนักในด้านความรักชาติ ศาสนา  พระมหากษัตริย์  
ระหว่างการฝึกอบรมได้สอดแทรกระบบหมู่ของกิจกรรมลูกเสือทดลองไว้ในการฝึกด้วย  
จนทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีชีวิตชีวาขึ้น  เกิดความรักใคร่  สนิทสนมกลมเกลียวกันยิ่งขึ้น  
 ประกอบกับผู้ให้การฝึกอบรมได้ให้ความเป็นกันเองอย่างพี่น้อง 
 จึงทำให้ชาวบ้านชายแดนเกิดความอบอุ่นใจ  รู้สึกภูมิใจที่ตนเองได้เสียสละ
เพื่อความอยู่รอดของชาติ  การฝึกอบรมขั้นต้นผ่านไปด้วยความเรียบร้อย
  เมื่อจบการฝึกอบรมมีการมอบหมายภารกิจ  ให้ปฏิบัติในท้องถิ่นของตนเอง 

  จากที่อาสามสมัครชาวบ้านชายแดน  ได้กลับไปปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่แล้วโดยเรียกชื่อเป็น
 ชาวบ้านรักษาชายแดน (ชบ.ชด.) เป็นผู้คุ้มครองของตำบล  และทำการสำรวจชายแดน 
 ปรากฏว่ามีสามเหตุหลายประการที่ต้องล้มเลิกแนวการฝึกอบรมอาสาสมัครประเภทนี้  อันได้แก่

     1.การติดอาวุธแก่ประชาชน  หากไม่สามารถควบคุมการปฏิบัติงานได้อย่างใกล้ชิดแล้ว 
 เปรียบเสมือนดาบสองคม
  2.ประชานเมื่อได้รับการฝึกอาวุธแล้วเกิดข้อเปรียบเทียบว่า  ตนเองคือบุคคลสำคัญคนหนึ่ง 
 มีการตั้งข้อเรียกร้องต่าง ๆ  ขึ้นอีก  เช่น  ค่าเบี้ยเลี้ยง  ค่าพาหนะ  ค่าสวัสดิการต่าง ๆ  
 รวมไปถึงเครื่องแบบที่มีลักษณะคล้ายกับการเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
    3.เรียกร้องสิทธิให้ตนเองได้เงินเดือน
   4.หน่วยราชการอื่น   ทำโครงการในลักษณะคล้ายคลึงกัน  เช่น  ไทยอาสาสมัครรักษาดินแดน
  ชุดคุ้มครองหมู่บ้าน  รักษาความปลอดภัยและอื่น ๆ  ทำให้ประชาชน
เกิดความสับสนทางความคิด  เกิดความไม่มั่นใจต่อทางราชการว่า
ตนเองควรยึดโครงการใดเป็นหลัก

    ในที่สุดก็มีการยกเลิกการฝึกอบรมชาวบ้านรักษาชายแดนและปรับปรุงการฝึกอบรมใหม่
เป็นการฝึกอบรมแบบ ลูกเสือชาวบ้านชายแดน(ต่อมาเปลี่ยนเป็น ลูกเสือชาวบ้าน
 และเน้นให้ยึดอาวุธทางความคิดเป็นหลัก  โดยมี  พ.ต.อ.สมควร  หริกุล 
 ผู้กำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต 4 , นายวิโรจน์  พูลสุข  อดีตเขตการศึกษาที่ 9 
 จ.อุดรธานี , นายสมเกียรติ  พรหมสาขา    สกลนคร   ผู้ตรวจการกระทรวงศึกษาธิการ   
พร้อมด้วยวิทยากรจากกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน เขต 4  
และวิทยากรจากเขตการศึกษาที่ 9  เป็นผู้ริเริ่มร่วมกันจัดทำหลักสูตร   การฝึกอบรมทดลองขึ้น
  จากนั้น พ.ต.อ.สมควร ฯ  จึงได้รวบรวมชุดชาวบ้านรักษาชายแดน
 และราษฎรหมู่บ้านใกล้เคียงจำนวน 125  คน เข้ารับการฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านตามแนวคิดใหม่
ระหว่างวันที่ 9-12 สิงหาคม 2514  ที่ศูนย์พัฒนาการโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน  
บ้านเหล่ากอหก  กิ่ง อ.นาแห้ว  จ.เลย (ปัจจุบันเป็น อ.นาแห้ว)

   การฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านสมัยเริ่มแรก  ใช้วิธีการแนะนำและชักจูงรวบรวมเอาประชาชน
 และเอาจิตใจของประชาชนให้มารวมกันเป็นมิตร  เพื่อให้เขารวมกันเป็นหมู่คณะ
 โดยมีการใช้วิธีการและเอากิจกรรมของลูกเสือมาเสริมมาเสริมสร้างปลูกฝังนิสัยให้เขารักบ้านเมือง 
 รักถิ่นฐาน รักหมู่คณะ  ร่วมกันทำกิจกรรม  ร่วมกันพัฒนาบ้าน  ที่อยู่อาศัย  ร่วมกันเสียสละ 
 ช่วยตนเอง  และประการสำคัญให้มีความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ 
 และการปกครองระบอบประชาธิปไตย

   ผลการฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านหลักสูตรทดลองปรากฏว่า  ประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยม 
 กล่าวคือสามารถใช้เป็นฐานในการต่อต้านและป้องกันอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์อย่างได้ผล  
 ดังนั้นการฝึกอบรมจึงได้แพร่ขยายไปยังจังหวัดต่าง ๆ   มีการส่งเจ้าหน้าที่จากหลายพื้นที่เข้ามา
ฝึกอบรม  เพื่อกลับไปเป็นวิทยากรลูกเสือชาวบ้านในท้องถิ่นของตนเอง

 การฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านรุ่นที่ 9   เมื่อวันที่ 25-29 พฤศจิกายน 2514 
 ที่บ้านทรายมูล  ต.อุ่มเหม้า อ.ธาตุพนม จ.นครพนม   มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจำนวน  238 คน 
ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี 
 ทรงเป็นองค์ประธานในพิธีปิด   นับเป็นพระองค์แรกที่มีพระมหากรุณาธิคุณต่อลูกเสือชาวบ้าน

 เมื่อฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านได้จำนวนหนึ่ง  พ.ต.อ.สมควร ฯ  จึงได้สรุปผลการ
ฝึกอบรมเสนอต่อ  พล.ต.ท.สุรพล   จุลละพราหมณ์  ผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน 
 ท่านได้ให้การสนับสนุนการฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านเป็นอย่างดี  และได้มอบหมายให้ 
 พล.ต.ต.เจริญฤทธิ์  จำรัสโรมรัน  ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน 
 รวบรวมข้อมูลการฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านโดยละเอียด

      พล.ต.ต.เจริญฤทธิ์ ฯ  จึงได้ศึกษาและสังเกตการฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านแล้วพิจารณาเห็นว่า 
 การฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านมีประโยชน์และสร้างสรรค์   ความสามัคคีกลมเกลียวให้บังเกิดขึ้น
ในหมู่ข้าราชการพ่อค้า  นักธุรกิจ  และประชาชนทั่วไป  สามารถขจัดช่องว่าง
และเส้นขนานระหว่างข้าราชการกับประชาชนได้เป็นอย่างดี 
 ตรงกับพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 
 และสมเด็จพระนางเจ้า น พระบรมราชินีนาถ ในการสร้างความสามัคคีธรรม
ให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนชาวไทย

      พล.ต.ท.สุรพล ฯ  จึงมอบหมายให้  พล.ต.ต.เจริญฤทธิ์ ฯ 
 นำเรื่องราวการฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านโดยละเอียดขึ้นกราบบังคมทูล
 พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว  ทรงทราบต่อมา
เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2515  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
 และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ  พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จ ฯ 
 ทอดพระเนตรกิจกรรมลูกเสือชาวบ้าน  ห่วงรัดผ้าผูกคอ และหน้าเสือ   
และทรงรับกิจการลูกเสือชาวบ้านในพระบรมราชานุเคราะห์  ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

    ต่อมาสภาลูกเสือแห่งชาติ  พิจารณาเห็นว่ากิจการลูกเสือชาวบ้านเป็นประโยชน์แก่บ้านเมือง 
 และการพัฒนาชุมชนเพราะกิจการลูกเสือชาวบ้านเป็นการดำเนินการที่เผยแพร่กิจกรรม
และวิธีการลูกเสือชาวบ้านเข้าสู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง  ในระบอบประชาธิปไตย 
 เพื่อยังประโยชน์ให้เกิดความรักความสามัคคี ความกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ในหมู่ประชาชน  ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจของแต่ละบุคคล นอกจากนั้นยังเป็น
การช่วยพัฒนาสังคมโดยทั่วไป  โดยระบบหมู่ลูกเสือ  จึงได้ตกลงรับกิจการลูกเสือชาวบ้าน
เป็นส่วนหนึ่งของคณะลูกเสือแห่งชาติ เมื่อ 5  กรกฎาคม 2516 
 และ ฯพณฯ นายอภัย  จันทวิมล  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ  
ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการบริหารลูกเสือแห่งชาติ   
ได้ตราข้อบังคับ  ฉบับที่ 6  ลง  5 กรกฎาคม  2516  ให้ผู้อำนวยการลูกเสือจังหวัด
 เป็นผู้อำนวยการลูกเสือชาวบ้านโดยตำแหน่ง

   ปรากฏว่าในปี 2518  ได้มีการฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านครบทุกจังหวัด  
สมดังพระราชประสงค์และยังมีการฝึกอบรมลูกเสือชาวบ้านเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
จนถึงปัจจุบันมีประมาณ  5  ล้านคน     พ.ศ.2517 คณะกรรมการลูกเสือแห่งชาติ
ได้ตราข้อบังคับลูกเสือแห่งชาติ  ฉบับที่ 8  ลง 7 ตุลาคม 2517  ว่าด้วยวัตถุประสงค์  
หลักสูตร เครื่องแบบวุฒิบัตร  บัตรประจำตัว  และธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้าน  พ.ศ.2521 
 ฯพณฯ พลเอกเกรียงศักดิ์   ชมะนันท์    นายกรัฐมนตรี 

  จึงออกคำสั่งที่  สร.75/2521  ลงวันที่ 18 เมษายน  2521 

 เรื่องการดำเนินการลูกเสือชาวบ้านในพระบรมราชานุเคราะห์   สรุปได้ดังนี้
1.ให้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือชาวบ้านขึ้นโดยมีสำนักงานอยู่
ภายในบริเวณกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
2.ศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือชาวบ้าน  มีหน้าที่เป็นศูนย์รวมของลูกเสือชาวบ้าน
ทั่วราชอาณาจักร
3.ศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือ  ขึ้นตรงต่อสภาลูกเสือแห่งชาติ
4.ให้ พลตำรวจตรี เจริญฤทธิ์  จำรัสโรมรัน 
  เป็นผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการลูกเสือชาวบ้าน
ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2534 ได้มีคำสั่ง ฯพณฯ นายอานัท์  ปัญญรชุน
 นายกรัฐมนตรีที่ สร.205/2534  ลง 6มิถุนายน 2534
 แต่งตั้งให้ พล.ต.ท.สมควร  หริกุล  เป็นผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติลูกเสือชาวบ้าน ..... 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น